วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

คนพิการทั่วไทย
หลักการและเหตุผล

เมื่อกล่าวถึงบุคคลทุพลภาพหรือคนพิการครั้งใด คนทั่วไปมักจะนึกถึงภาพของความน่าสงสาร คนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือหลายคนอาจมองว่าพวกเขาเป็นภาระของสังคม ทั้งๆที่สิ่งที่เกิดขึ้นพวกเขาไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่ถ้ามองในทางตรงกันข้ามก็จะเห็นว่า ความจริงแล้วคนพิการนั้น แม้จะพิการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะพิการไปพร้อมกันหมดทุกอย่าง เช่นคนตาบอด หูก็ดี แขนขาก็ดี นอกจากนี้คนพิการยังมีจิตใจที่ดีกว่าคนไม่พิการเสียอีก เพราะเขาเผชิญกับความทุกข์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้มีจิตใจเข้มแข็ง สามารถที่จะช่วยเหลือสังคมได้มากมาย และถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญที่เราไม่ควรละเลย หรือมองข้าม ทัศนคติของคนในสังคมที่มองคนพิการนั้นเป็นเรื่องสำคัญเช่นการมองพิการว่าเป็นภาระสังคมจะต้องเปลี่ยนไป และควรมองใหม่ว่าคนพิการเป็นทุนทางสังคม หรือการมองว่าคนพิการสุขภาพไม่ดีนั้นไม่จริง เพราะเดิมเราคิดว่าสุขภาพดีหมายถึงการไม่มีโรค แต่มาภายหลังมาเราจะพบว่าคนไม่มีโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ ถามว่าสุขภาพคืออะไร สุขภาพคือดุลยภาพของกาย จิต สังคม สิ่งแวดล้อม ถ้ามันดุลกันได้ก็เกิดความ ฉะนั้นคนพิการจึงมีสุขภาพดีได้ ถ้าหากเราเปลี่ยนทัศนคติในการมองคนพิการเป็นแบบนี้ คนพิการก็จะเป็นทุนทางสังคม และพัฒนาสังคมได้อีกมาก
และในปัจจุบัน สื่อมวลชนถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่าสื่อมวลชนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นสื่อกลางที่สำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของคนในสังคม หากสื่อมวลชนมุ่งเสนอข่าวสารเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยขาดความตระหนัก และความรับผิดชอบต่อสังคมและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ก็ย่อมส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมอย่างแน่นอน จะดีไม่น้อยถ้าสื่อมวลชน จะส่งสารผ่านช่องทางต่างๆ ในการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่งของคนพิการ สะท้อนให้คนในสังคมปฏิบัติต่อบุคคลทุพลภาพอย่างเคารพสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเน้นย้ำว่าบุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ภาระหากแต่พวกเขาคืออีกหนึ่งกำลังในการสร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติ จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเลือกทำเรื่องคนพิการ คือ อยากให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันหันมาให้ความสำคัญบุคคลเล่านี้ให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันคนพิการได้เพิ่มจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื้อยๆ แน่นอว่าต้องมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน คนพิการบางคนนอกจากจะถูกสังคมรังเกียจแล้วยังถูกครอบครัวทอดทิ้ง ทำให้คนพิการเล่านี้ต้องกลายเป็นปัญหาของสังคม แต่คนพิการเล่านี้เขาไม่ได้ต้องการเป็นปัญหาของสังคมเลย แต่เพียงเขาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และสิ่งที่เขาพอจะทำได้ก็ คือ การขอทาน แต่คนพิการเล่านี้ไม่สามารถเลือกเกิดได้แต่ถ้าสังคมให้โอกาสคนเล่านี้ บุคคลเล่านี้อาจทำประโยชน์ต่อสังคมไม่มากก็น้อยแต่เขาจะไม่สร้างปัญหาให้คนรอบข้างแน่นอน เพราะฉะนั้นอยากให้สังคมทุกวันนี้ใส่ใจครอบข้างและคนที่ท่านรู้จักที่มีอาการผิดปกติ ควรให้ความสนใจและให้กำลังใจช่วยเหลือเขาให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในเมื่อบุคคลเล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้แล้ว เขาก็สามารถหารายได้และมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่ออยู่อย่างเหมือนคนปกติและไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับสังคมและไม่คิดว่าตัวเองเป็นผิดปกติแต่อย่างใด เมื่อบุคคลเล่านี้ได้รับการให้โอกาสจากคนในสังคมแล้ว ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการฆ่าตัวตายได้อีกทางหนึ่ง
คนพิการส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ
เมื่อเวลาไม่เคยหยุดหมุน ชีวิตของคนเราเองก็เช่นกันที่ต้องก้าวเดินต่อไปข้างหน้าไม่อาจหยุดเดินได้ แม้แต่คนที่มีร่างกายไม่ครบสมบูรณ์ทั้ง 32 ประการ ที่สังคมเรียกเขาเหล่านี้ว่า อย่าง “คนพิการ” เขาเองก็ต้องก้าวเดินสู้ต่อไปข้างหน้า “ดังเข็มนาฬิกาที่ต้องเก็บสะสมทุกวินาทีเพื่อให้ครบ 1 นาที เก็บสะสมทุกนาทีเพื่อให้ครบ 1 ชั่วโมง เก็บสะสมทุก 1 ชั่วโมงเพื่อให้ครบ 1 วัน และคงต้องเก็บสะสมแบบนี้ไปทุกๆ วันเพื่อให้ครบ 1 ชีวิต” หากเข็มวินาทีหยุดเดินนั่นก็เท่ากับว่า 1 ชีวิตก็จะขาดหายไป

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นมากถึง 67 ล้านกว่าคน แบ่งเป็นชายประมาณ 33 ล้านคน และหญิง 34 ล้านคนนั้น ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 บ่งบอกว่า ประเทศไทยเรานั้นมี คนพิการ มากถึง 1.9 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ต่างจากปี 2544 ที่มีอยู่ 1.1 ล้านคน และจะพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยจำแนกเป็นชาย 0.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.7 และเป็นหญิงสูงถึง 1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 3.02 ซึ่งมองดูแล้วถือเป็นจำนวนที่สูงอยู่มาก ซึ่งคนพิการเหล่านั้น คงต้องก้าวเดินต่อไปข้างหน้าในทุกๆวินาที แต่ย่อมจะยากเย็นกว่าคนปกติทั่วไปหลายเท่า...แต่เขาเหล่านี้ก็ต้องสู้ สู้ต่อไปตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจอยู่ จากพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ฉบับอ้างอิง ได้แบ่งประเภทคนพิการไว้ 6 ประเภท ได้แก่ 1.ความพิการทางการเห็น 2.ความพิการทางการได้ยิน 3.ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย 4.ความพิการทางจิตใจ 5.ความพิการทางสติปัญญา และ 6.ความพิการทางการเรียนรู้
แต่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กำหนดลักษณะ“คนพิการ” ออกดังนี้
1.คนพิการที่มีความลำบากหรือปัญหาในการทำกิจกรรม ส่วนใหญ่มีความลำบากหรือปัญหาในการเดินขึ้นบันได การมองเห็น การเดินทางราบระยะ 50 เมตร การนั่งยอง ๆ และมีความเจ็บปวดตามร่างกาย ซึ่งปัจจุบันมีสูงถึง 1.8 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 97.9 ของประชากรพิการทั้งหมด
2.คนพิการที่มีความลำบากในการดูแลตนเอง ซึ่งมีจำนวน 3.9 แสนคน หรือร้อยละ 92.3 คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีความลำบากในการขับถ่าย รวมทั้งการทำความสะอาดหลังการขับถ่าย รองลงมาคือการแต่งตัวร้อยละ 82.5 การอาบน้ำร้อยละ 82.1 การล้างหน้าแปรงฟัน ร้อยละ 65.8 และมีความลำบากในการกินอาหารร้อยละ 59.0 และ3.คนพิการที่มีความบกพร่องของร่างกาย จิตใจหรือสติปัญญานั้น จะมีความบกพร่อง 5 ลำดับแรก ได้แก่ ความบกพร่องทางสายตาโดยมองเห็นอย่างเลือนรางทั้ง 2 ข้าง เลือนรางข้างเดียว หูตึง 2 ข้าง อัมพฤกษ์ และแขนขาลีบ/เหยียดงอไม่ได้ ปรากฏว่าประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 1.3 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 70.5จากคามพิการทั้งหมด และเห็นได้ว่า...คนพิการที่มีปัญหาทางสายตาและแขนขาลีบนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจากปี 45 มีเพียง 1.1 ล้านคนเท่านั้น ต่างจากลักษณะอื่นๆ ที่กำลังลดลงเล็กน้อย แต่ที่น่าจับตามองคือ!!! คนพิการส่วนใหญ่เริ่มมีความพิการตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยมีอยู่ถึงร้อยละ 43.1 เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาการดูแลตนเองตามวัยที่สูงขึ้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือเป็นลักษณะความพิการอย่างหนึ่ง รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงาน ร้อยละ 31.3 และอีกกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มคนที่พิการตั้งแต่กำเนิดหรือพิการก่อนอายุ 1 ปี ซึ่งมีร้อยละ 12.8 เมื่อมองถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการนั้น พบว่าส่วนใหญ่เนื่องมาจากความชราภาพ ถึงร้อยละ 39.1 พิการจากโรคภัยไข้เจ็บ ร้อยละ 36.2 และพิการจากอุบัติเหตุ ร้อยละ 14.6 เมื่อพิจารณาถึงความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย อุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน ร้อยละ 6.9 อุบัติเหตุจากการจราจรทางบก ร้อยละ 5.8 และอุบัติเหตุจากการเล่นหรือการจราจรทางน้ำ รวมทั้งจากการระเบิด ร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนพิการจากการถูกยิงหรือถูกทำร้าย ร้อยละ 0.7 ซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้น... ยังมีคนพิการถึงร้อยละ 20.8 ที่ยังต้องการใช้เครื่องช่วยอำนวยความสะดวก แต่ยังไม่มี อีกทั้งในจำนวนคนพิการที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 24.3 ที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา และคนพิการในวัยแรงงานที่ไม่มีงานทำ อีกถึงร้อยละ 46.7

...มาจนถึงตอนนี้ สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำเลยว่า “คงไม่มีใครอยากเกิดหรือประสบเหตุจนทำให้กลายเป็น "คนพิการ" อย่างแน่นอน” แต่เมื่อชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐและเอกชนที่มีกำลังพอในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะให้กับคนพิการ ถือเป็นการลงทุนทางสังคมที่มีผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่จำต้องติดตามมา ทั้งยังเป็นการช่วยชาติพัฒนาสังคมทางหนึ่งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือในการจัดทำสาธารณูปโภคเพื่อคนพิการเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำสาธารณะหรือทางเดินเท้าสำหรับคนพิการ และยังรวมไปถึง ลิฟต์ โทรศัพท์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเขาเหล่านั้นจะได้สามารถดำรงชีวิต หรือประกอบอาชีพได้เป็นปกติสุขโดยไม่กลายเป็นภาระใดๆ ของสังคมต่อครอบครัว ทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้พิการหรือทุพพลภาพให้เป็นบุคลากรที่มีค่า จะช่วยพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศอื่นๆ ได้อีกด้วย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นอกเหนือจากหน่วยงานต่างๆ ที่ออกมาทำโน่น นั่น นี่ เพื่อให้ผู้พิการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้สะดวกขึ้นแล้ว หน่วยงานที่ทำงานรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะของสังคมอย่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เอง ก็ไม่อาจละเลยหรือมองข้ามที่จะเข้าไปมีส่วนสนับสนุนให้เขาเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้เกิด “แผนสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย” ภายใต้การดูแลของ สสส. เข้าทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทน สร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนมุมมองของสังคมเกี่ยวกับคนพิการจาก "ความเป็นภาระ" ให้กลายเป็น "ทุนทางสังคม" รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ให้กับคนพิการมากขึ้น
แต่ที่สำคัญที่สุด “คนในสังคม” เอง...จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับ “คนพิการ” เพื่อเขาจะได้อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและสมศักดิ์ศรีต่อไป

บทวิเคราะห์
ตารางเปรียบเทียบ จำนวนประชากร และประชากรที่พิการอายุ 1-74ปี โดยจำแนกตาม เพศ และเขตการปกครองทั่วราชอาณาจักร พ.ศ 2550ตารางจำนวน ประจำนวนประชากร และประชากรผู้พิการ คามอายุ เพศ ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ 2550



แผนภูมิแท่ง
ตารางจำนวน ประจำนวนประชากร และประชากรผู้พิการ คามอายุ เพศ ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ 2550


จากตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากร จำนวนประกรที่พิการทั่วราชอาณาจักรโดยจำแนกตามอายุ เพศ ที่พิการ ปี2550 จะพบว่า ประชากรชายมีจำนวนคนพิการมากว่าเพศหญิง มาจากสาเหตุ ที่ผู้ชายดื่มสุราและทำให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อเฉลี่ยแล้วมากถึง 78%ส่วนประชากรพิการหญิงสาเหตุมาจากพิการตั้งแต่กำเนิด และประสบอุบัติเหตุเป็นส่วนน้อย มากถึง 34.72%ส่วนประชากรหญิง และจะเห็นได้ชัดเจนว่าจำนวนผู้พิการมีจำนวนเพิ่มและลดอยู่ตลอดเวลา

ตารางจำนวน ประจำนวนประชากร และประชากรผู้พิการ คามอายุ เพศ ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ 2550 (ต่อ)






ตารางจำนวน ประจำนวนประชากร และประชากรผู้พิการ คามอายุ เพศ ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ 2550 (ต่อ)




กราฟแสดงจำนวนผู้พิการทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.2550
จากตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากร จำนวนประกรที่พิการทั่วราชอาณาจักรโดยจำแนกตามอายุ เพศ ที่พิการ ปี2550 (ต่อ)จะพบว่า ประชากรชายมีจำนวนคนพิการมากว่าทุกประเภท มาจากสาเหตุ ที่ผู้ชายดื่มสุราและทำให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อเฉลี่ยแล้วมากถึง 80.78% และจำนวนผู้พิการก็มีจำนวนมากขึ้น

สรุป
จากตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากร จำนวนประกรที่พิการทั่วราชอาณาจักรโดยจำแนกตามอายุ เพศ ที่พิการ ปี2550 จะพบว่า ประชากรชายมีจำนวนคนพิการมากว่าเพศหญิง มาจากสาเหตุ ที่ผู้ชายดื่มสุราและทำให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อเฉลี่ยแล้วมากถึง 78%ส่วนประชากรพิการหญิงสาเหตุมาจากพิการตั้งแต่กำเนิด และประสบอุบัติเหตุเป็นส่วนน้อย มากถึง 34.72%ส่วนประชากรหญิง และจะเห็นได้ชัดเจนว่าจำนวนผู้พิการมีจำนวนเพิ่มและลดอยู่ตลอดเวลา จากตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากร จำนวนประกรที่พิการทั่วราชอาณาจักรโดยจำแนกตามอายุ เพศ ที่พิการ ปี2550 (ต่อ)จะพบว่า ประชากรชายมีจำนวนคนพิการมากว่าทุกประเภท มาจากสาเหตุ ที่ผู้ชายดื่มสุราและทำให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อเฉลี่ยแล้วมากถึง 80.78% และจำนวนผู้พิการก็มีจำนวนมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1.อยากให้ผู้พิการได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงทุกคน
2.อยากให้สังคมให้โอกาสคนพิการและมองว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นภาระของสังคม
3.อยากให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องจัดการกับพวกที่ใช้ความพิการของคนอื่นมาใช้ในการหารายได้ของตัวเอง
4.อยากให้มีศูนย์ฝึกอาชีพสำหรับคนพิการ
5.อยากให้ครอบครัวให้ความสำคัญและให้กำลังใจกับคนพิการที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันเพื่อนช่วยลดปัญกาคนพิการเล้ล่อน
6.อยากให้คนพิการ และผู้สูงอายุสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน
7.อยากให้คนพิการและผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ทั้งจากอาคาร และบริการสาธารณะของรัฐสภาอย่างเท่าเทียมกัน โดยดำเนินงานก่อสร้าง และจัดสิ่งอำนวย